วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกความสุข


จากใจสู่ใจ

นี่คือบันทึกครั้งสุดท้ายของรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ประจำภาคเรียนที่ 1/2557 
การเริ่มต้นที่ท้าทาย
     ก่อนการเริ่มเรียนดิฉันต้องไปหาหนังสือมาอ่านเพื่อทำความเข้าใจกับอาการของเด็ก เมื่อเริ่มเรียนคิดไว้เสมอว่าเนื้อหาต้องเยอะและยากแน่ๆ แต่พอได้เรียนแล้ว อาจารย์เบียร์นำเทคนิคต่างๆมาสอน นำเหตุการณ์ต่างๆมาเล่าสู่กันฟัง อาจารย์เบียร์เป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตหลายๆอย่าง เช่น การเป็นต้นแบบที่ดี การพูด การสอน ที่ทำให้นักศึกษารักและเคารพกันทุกคน เนื้อหาสาระต่างๆมีความละเอียดเข้าใจได้ง่าย บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน อบอุ่น อาจารย์

บรรยากาศที่อบอุ่น
    ในห้องเรียนจะเต็มไปด้วยเสียงคุยกัน เสียงหัวเราะ เสียงตอบโต้  เสียงคำตอบเล็กๆน้อยๆ เสียงเหล่านี้ส่วนใหญ่มากจาก เหตุการณ์ที่ประทับใจนั่นก็คือ บทบาทสมมติ อาจารย์เบียร์แสดงบทบาทสมมติให้นักศึกษาดู เพื่อให้การเรียนสมบูรณ์แบบและสร้างความสนุกสนาน เพราะรายวิชานี้ค่อนข้างจะเนื้อหาเยอะ แต่อาจารย์ก็ได้นำเทคนี้มาปรับใช้ ตอนแรกบอกได้คำเดียวว่าอึ้ง ทึ่ง งง เพราะไม่คาดคิดว่าอาจารย์จะทำได้ อาจารย์เบียร์น่ารักมาก ขึ้นชื่อว่าครูทำได้ทุกอย่างจริงๆ น่ารักมากค่ะ

ผู้คอยรับฟัง
   การเรียนในเทอมนี้ค่อนข้างจะหนัก ทั้งงาน ทั้งการบ้าน และกิจกรรม ที่ถ่าโถมเข้ามาไม่ขาดสาย จนทำให้นักศึกษาเกิดอาการท้อ ร่างกายทรุดโทรด ไม่เป็นอันกินอันนอน แต่เหตุการณ์นี้สามารถผ่านไปด้วยดี เพราะอาจารย์ เป็นคนที่เข้าใจนักศึกษามากที่สุด คอยดูแล ให้คำแนะนำ ให้ข้อคิดดีๆ หลายๆอย่าง และขาดไม่ได้อีกคนคือ อาจารย์บาส ที่ช่วยดูแลและช่วยเหลือนักศึกษาทุกเรื่อง อยากให้เอกเรา คณะของเรามีแบบนี้ทุกคน ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะ ที่คอยชี้แนะ และใส่ใจนักศึกษาตลอดเวลา

กำลังใจ
เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่ได้รับรางวัลเด็กดี รางวัลนี้ภูมิใจมากค่ะ เพราะทำให้เรารู้ว่าตลอดภาคเรียนเราทำอะไรไปบ้าง สิ่งที่เราทำไม่สูญหายไปยังมีคนคอยดูแลและให้กำลังใจเราตลอด รักอาจารย์เบียร์มากนะคะ ที่มีสิ่งดีๆมอบให้ตลอด หากส่วนไหนที่แพมทำให้อาจารย์เคียงหรือมีผลกระทบใดๆต้องขอ อภัย อาจารย์ด้วยนะคะ สุดท้ายแพมขอให้อาจารย์เบียร์มีความสุขมากๆ เป็นที่รักของนักศึกษา สดชื่น สดใส แบบนี้ตลอดไปนะคะ

ด้วยรักและเคารพ
กมลพรรณ  แสนจันทร์

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


วันอังคาร ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เนื้อหาการเรียนการสอน : การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น



การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น
  1. การใช้ยา
  2. การควบคุมตัวเอง เช่น ให้เด็กยืดดินน้ำมัน การวิ่ง การกระโดด
  3. การปรับสภาพแวดล้อม เช่น สะอาด สงบ ให้เด็กนั่งใกล้ครู และนั่งห่างจากประตูเพื่อป้องกันเด็ก
การสื่อสารกับเด็ก
  1. สังเกตช่วงเด็กนิ่ง
  2. เรียกชื่อเด็ก
  3. สัมผัสร่างกายเด็ก
  4. ชักชวนและจับมือเด็กเดินมาพร้อมครู
กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  1. ลดภาวะไม่อยู่นิ่ง
  2. การควบคุมตนเอง เช่น การทรงตัว
  3. การผ่อนคลาย เช่น แกว่งชิงช้า ให้เด็กนอนแล้วกลิ้งลูกบอลตามร่างกายเด็ก
โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  1. เด็กสามารถเรียนโรงเรียนปกติทั่วไปได้
  2. โรงเรียนที่มีครูที่เข้าใจ และมีความรู้โรคสมาธิสั้น
  3. สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องน้อย
  4. มีพื้นที่กว้างขวาง
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  1. สำนักงานบริหารศึกษาพิเศษ
  2. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  3. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ( Early Intervention : EI)
  4. โรวเรียนเฉพาะความพิการ
  5. สถาบันราชานุกูล
  6. มูลนิธิบ้านแสงสว่าง
ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ


สรุปความรู้ ห้องรียนแรกของเด็กพิเศษ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การดูแลและส่งเสริมเด็กให้ถูกต้องตามอาการของเด็ก
  2. การเข้าใจเด็ก และดูแลเด็กให้ดี
  3. การให้ความรู้และข้อมูลแก่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสบายใจ 
  4. เป็นกำลังให้กันและกัน ระหว่างครูกับเด็ก และผู้ปกครอง
  5. การจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ได้อย่างองค์รวม
  6. มีจิตใจที่รักและดูแลเด็กด้วยใจ เพราะเด็กพิเศษต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนา
  7. การจัดสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ เพื่อให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้
การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและจดบันทึกข้อมูลและเทคนิคการพัฒนาเด็กเพื่อนำไปใช้ในการเรียนและเมื่อเราไปเป็นครูเราก็สามารถนำเทคนิคไปปรับประยุกต์ใช้กับเด็ก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อย ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงวลา ตั้งใจเรียนและจดบันทึกความรู้ต่างๆ ทุกคนมีส่วนร่วมกับการตอบคำถามการแสดงความคิดเห็น บรรกาศการเรียนสนุกสนานและอบอุ่นค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเนื้อหาที่กระชับเข้าใจง่าย ทำให้นักศึกษาเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็ว นำเทคนิคการดูแลและพัฒนาเด็กมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟัง มีการยกตัวอย่างและนำสื่อต่างๆมาเพิ่มเติมความรู้ทำให้เห็นภาพและอาการของเด็กได้ชัดเจน อาจารย์ดูแลเอาใจใส่และเป็นกันเองกับนักศึกษาทำให้นักศึกษามีความสุข ความสบายใจในการเรียนการสอน อาจารย์จะย้ำอยู่เสมอว่า "การพัฒนาเด็กพิเศษเราต้องอาศัยเวลา ค่อยๆเป็นค่อยๆไปใจเย็นๆ ซ้ำ ย้ำ ทวน สักวันเด็กจะทำได้เอง " ขอบคุณประโยคนี้ที่ทำให้นักศึกษาตระหนักความป็นครูและเข้าใจกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคนนะคะ