วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


วันอังคาร ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557


เข้าร่วมสัมนา "จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง"

โดย พี่ปอ ทฤษฏี สหวงษ์



ความรู้ที่ได้รับ

ความสุขนี้ฉันให้เธอ : ต่างคนต่างให้ = ความสุข

     จิตอาสาเริ่มได้จากสิ่งเล็กๆจากตัวของเราเอง โดยที่เราทำแล้วไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน การเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูคำว่า จิตอาสา มีความสำคัญยิ่งนัก เพราะการเป็นครูต้องทำทุกอย่าง ต้องอดทน เสียสละ ซื่อสัตย์ ยึดมั่นในวิชาชีพ ยึดมั่นในความดี ครูหนึ่งคนต้องรับผิดชอบความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นหลายร้อยชีวิต เพราะฉะนั้นแล้วครูจึงต้องมีจิตอาสาและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ที่สำคัญคือ การเดินตามรอยเศรษกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทำให้ชีวิตของตัวเรา ชีวิตของเด็ก รู้จักคุณค่าของทรัพยากรต่างๆในประเทศของเรา เพื่อความก้าวหน้าและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประเทศ 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การเป็นจิตอาสาเพื่อพัฒนาตนเองและประเทศชาติ
  2. การพอเพียง เช่น การทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้ วัสดุธรรมชาติ
  3. การพอใจในสิ่งที่ตนมีและพัฒนาตนเองอยูสม่ำเสมอ
  4. การเป็นกระบอกเสียงในการเป็นจิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่ดี

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วันอังคาร ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เนื้่อหา / กิจกรรม ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
1.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
2.เด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
สรุป Mind Map ได้ดังนี้


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • การปฐมพยาบาลเด็กที่เป็นโรคลมชักอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
  • การสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • การความรู้ไปใช้ในการทำงาน "อาสาสมัครนักอ่านเพื่อการบำบัด" ที่สถาบันราชานุกูล


    การประเมินการเรียนการสอน
    • ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน ตั้งใจกับการเรียนการสอนของอาจารย์
    • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน และมีส่วนร่วมกับเนื้อหาของอาจารย์ จึงส่งผลให้การเรียนการสอนสนุกราบรื่นไปด้วยดี
    • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการบรรยาย พร้อมกับการเล่นบทบาทสมมติเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น มีการเล่าประสบการณ์ต่างๆ และมีวิดีโอประกอบการสอน ทำให้นักศึกษามีความรู้และมีความสนุกในการเรียน

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 5



    บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

    วันอังคาร ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

    เนื้่อหา / กิจกรรม ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 
    1.เด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง


    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    • การช่วยและดูแลเด็กอย่างถูกวิธี
    • การสอนเด็กได้ตรงตามพัฒนาการของเด็ก
    • การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เหมาะสม
    การประเมินการเรียนการสอน
    • ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย สนใจกับการเรียนการสอน
    • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน เพื่อนมีการตอบสนองกับการเรียน เช่น การซักถาม และการแสดงความคิดเห็น 
    • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการบรรยาย พร้อมกับการเล่นบทบาทสมมติ การเล่าประสบการณ์ต่างๆ วิดีโอประกอบการสอน การใช้น้ำเสียงที่น่าสนใจ และการใส่ใจกับนักศึกษาทุกคน ทำให้นักศึกษาและอาจารย์มีความคุ้นเคยกัน เป็นกันเองใาการเรียน

    วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


    บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

    วันอังคาร ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

    เนื้่อหา / กิจกรรม ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
    1.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
    2.เด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
    สรุป Mind Map ได้ดังนี้


    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    • การปฐมพยาบาลเด็กที่เป็นโรคลมชักอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
    • การสังเกตพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    • การความรู้ไปใช้ในการทำงาน "อาสาสมัครนักอ่านเพื่อการบำบัด" ที่สถาบันราชานุกูล


    การประเมินการเรียนการสอน
    • ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในชั้นเรียน ตั้งใจกับการเรียนการสอนของอาจารย์
    • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน และมีส่วนร่วมกับเนื้อหาของอาจารย์ จึงส่งผลให้การเรียนการสอนสนุกราบรื่นไปด้วยดี
    • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการบรรยาย พร้อมกับการเล่นบทบาทสมมติเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น มีการเล่าประสบการณ์ต่างๆ และมีวิดีโอประกอบการสอน ทำให้นักศึกษามีความรู้และมีความสนุกในการเรียน

    วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


    บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

    วันอังคาร ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557


    เนื้อหา / กิจกรรม  : เข้าร่วมโครงการ "ศึกษาศาสตร์วิชาการ"





    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

    การนำกระบวนการคิดมาใช้ในการเรียนการสอน และการใช้ทักษะชีวิตประจำให้สมบูรณ์และมีความสุข
    การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  (Critical  Thinking )  หมายถึง  กระบวนการคิดที่ใช้เหตุใช้ผลพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ  โดยการศึกษาข้อมูล  หลักฐาน  แยกแยะข้อมูลว่าข้อมูลใดคือ ข้อเท็จจริง ข้อมูลใดคือความคิดเห็น  ตลอดจนพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล  แล้วตั้งสมมติฐานเพื่อหาสาเหตุของปัญหา   และสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


    บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

    วันอังคาร ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

    การเรียนการสอน เรื่อง ความหมาย พฤติกรรมและพัฒนาการ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยสรุปความรู้ได้เป็น Mind Map ได้ดังนี้


    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    • การรู้และเข้าใจพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเพื่อที่จะนำไปจัดประสบการณ์ให้เด็กได้สอดคล้องและเกิดการเรียนรู้ที่ดีมีประสิทธิภาพ
    • การเขียนแผนการสอนให้กับเด็กแต่ละคน เพราะเด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมมีความแตกต่างกัน
    • การเลือกสื่อการเรียนการสอนให้เด็กที่ปลอดภัย และสื่อที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่กว้างขวางให้กับเด็ก
    การประเมินการเรียนการสอน
    • ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
    • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในการเรียน การนำความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาเตอบคำถามร่วมกับการบรรยายของอาจารย์
    • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการบรรยายเนื้อหา การเล่นบทบาทสมมติ และการนำประสบการณ์ที่อาจารย์ได้สัมผัสมาเล่าสู่กันฟัง จึงทำให้นักศีกษามีความรู้มากขึ้น และมีความสนุกสนานในชั้นเรียน


    วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

    บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


    บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

    วันอังคาร ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

    การเรียนการสอน :การแนะนำรายวิชา โดยแจกแนวการสอน Course syllabus และแบ่งกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แล้วนำเสนอหน้าชั้นเ



    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    • การนำประสบการณ์ต่างๆจากเพื่อนที่ได้เล่าสู่กันฟัง มาเป็นความรู้ในการสอนและดูแลเด็กพิเศษ
    • การเขียนแผนการสอนให้กับเด็กแต่ละคน เพราะเด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมมีความแตกต่างกัน
    • การเข้าใจความแตกต่างและความต้องการของเด็กแต่ละคน เพื่อนำไปใช้ในการสอนหรืออบรมเลี้ยงดูอย่างถูกวิธี
    การประเมินการเรียนการสอน
    • ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
    • ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในการทำงานกลุ่ม การนำความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาเล่าสู่กันฟัง เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อทราบถึงข้อมูลหรือความรู้ของนักศึกษาว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด