วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกความสุข


จากใจสู่ใจ

นี่คือบันทึกครั้งสุดท้ายของรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ประจำภาคเรียนที่ 1/2557 
การเริ่มต้นที่ท้าทาย
     ก่อนการเริ่มเรียนดิฉันต้องไปหาหนังสือมาอ่านเพื่อทำความเข้าใจกับอาการของเด็ก เมื่อเริ่มเรียนคิดไว้เสมอว่าเนื้อหาต้องเยอะและยากแน่ๆ แต่พอได้เรียนแล้ว อาจารย์เบียร์นำเทคนิคต่างๆมาสอน นำเหตุการณ์ต่างๆมาเล่าสู่กันฟัง อาจารย์เบียร์เป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตหลายๆอย่าง เช่น การเป็นต้นแบบที่ดี การพูด การสอน ที่ทำให้นักศึกษารักและเคารพกันทุกคน เนื้อหาสาระต่างๆมีความละเอียดเข้าใจได้ง่าย บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน อบอุ่น อาจารย์

บรรยากาศที่อบอุ่น
    ในห้องเรียนจะเต็มไปด้วยเสียงคุยกัน เสียงหัวเราะ เสียงตอบโต้  เสียงคำตอบเล็กๆน้อยๆ เสียงเหล่านี้ส่วนใหญ่มากจาก เหตุการณ์ที่ประทับใจนั่นก็คือ บทบาทสมมติ อาจารย์เบียร์แสดงบทบาทสมมติให้นักศึกษาดู เพื่อให้การเรียนสมบูรณ์แบบและสร้างความสนุกสนาน เพราะรายวิชานี้ค่อนข้างจะเนื้อหาเยอะ แต่อาจารย์ก็ได้นำเทคนี้มาปรับใช้ ตอนแรกบอกได้คำเดียวว่าอึ้ง ทึ่ง งง เพราะไม่คาดคิดว่าอาจารย์จะทำได้ อาจารย์เบียร์น่ารักมาก ขึ้นชื่อว่าครูทำได้ทุกอย่างจริงๆ น่ารักมากค่ะ

ผู้คอยรับฟัง
   การเรียนในเทอมนี้ค่อนข้างจะหนัก ทั้งงาน ทั้งการบ้าน และกิจกรรม ที่ถ่าโถมเข้ามาไม่ขาดสาย จนทำให้นักศึกษาเกิดอาการท้อ ร่างกายทรุดโทรด ไม่เป็นอันกินอันนอน แต่เหตุการณ์นี้สามารถผ่านไปด้วยดี เพราะอาจารย์ เป็นคนที่เข้าใจนักศึกษามากที่สุด คอยดูแล ให้คำแนะนำ ให้ข้อคิดดีๆ หลายๆอย่าง และขาดไม่ได้อีกคนคือ อาจารย์บาส ที่ช่วยดูแลและช่วยเหลือนักศึกษาทุกเรื่อง อยากให้เอกเรา คณะของเรามีแบบนี้ทุกคน ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะ ที่คอยชี้แนะ และใส่ใจนักศึกษาตลอดเวลา

กำลังใจ
เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่ได้รับรางวัลเด็กดี รางวัลนี้ภูมิใจมากค่ะ เพราะทำให้เรารู้ว่าตลอดภาคเรียนเราทำอะไรไปบ้าง สิ่งที่เราทำไม่สูญหายไปยังมีคนคอยดูแลและให้กำลังใจเราตลอด รักอาจารย์เบียร์มากนะคะ ที่มีสิ่งดีๆมอบให้ตลอด หากส่วนไหนที่แพมทำให้อาจารย์เคียงหรือมีผลกระทบใดๆต้องขอ อภัย อาจารย์ด้วยนะคะ สุดท้ายแพมขอให้อาจารย์เบียร์มีความสุขมากๆ เป็นที่รักของนักศึกษา สดชื่น สดใส แบบนี้ตลอดไปนะคะ

ด้วยรักและเคารพ
กมลพรรณ  แสนจันทร์

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


วันอังคาร ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เนื้อหาการเรียนการสอน : การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น



การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น
  1. การใช้ยา
  2. การควบคุมตัวเอง เช่น ให้เด็กยืดดินน้ำมัน การวิ่ง การกระโดด
  3. การปรับสภาพแวดล้อม เช่น สะอาด สงบ ให้เด็กนั่งใกล้ครู และนั่งห่างจากประตูเพื่อป้องกันเด็ก
การสื่อสารกับเด็ก
  1. สังเกตช่วงเด็กนิ่ง
  2. เรียกชื่อเด็ก
  3. สัมผัสร่างกายเด็ก
  4. ชักชวนและจับมือเด็กเดินมาพร้อมครู
กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  1. ลดภาวะไม่อยู่นิ่ง
  2. การควบคุมตนเอง เช่น การทรงตัว
  3. การผ่อนคลาย เช่น แกว่งชิงช้า ให้เด็กนอนแล้วกลิ้งลูกบอลตามร่างกายเด็ก
โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  1. เด็กสามารถเรียนโรงเรียนปกติทั่วไปได้
  2. โรงเรียนที่มีครูที่เข้าใจ และมีความรู้โรคสมาธิสั้น
  3. สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องน้อย
  4. มีพื้นที่กว้างขวาง
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  1. สำนักงานบริหารศึกษาพิเศษ
  2. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  3. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ( Early Intervention : EI)
  4. โรวเรียนเฉพาะความพิการ
  5. สถาบันราชานุกูล
  6. มูลนิธิบ้านแสงสว่าง
ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ


สรุปความรู้ ห้องรียนแรกของเด็กพิเศษ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การดูแลและส่งเสริมเด็กให้ถูกต้องตามอาการของเด็ก
  2. การเข้าใจเด็ก และดูแลเด็กให้ดี
  3. การให้ความรู้และข้อมูลแก่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสบายใจ 
  4. เป็นกำลังให้กันและกัน ระหว่างครูกับเด็ก และผู้ปกครอง
  5. การจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ได้อย่างองค์รวม
  6. มีจิตใจที่รักและดูแลเด็กด้วยใจ เพราะเด็กพิเศษต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนา
  7. การจัดสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ เพื่อให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้
การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและจดบันทึกข้อมูลและเทคนิคการพัฒนาเด็กเพื่อนำไปใช้ในการเรียนและเมื่อเราไปเป็นครูเราก็สามารถนำเทคนิคไปปรับประยุกต์ใช้กับเด็ก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อย ส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงวลา ตั้งใจเรียนและจดบันทึกความรู้ต่างๆ ทุกคนมีส่วนร่วมกับการตอบคำถามการแสดงความคิดเห็น บรรกาศการเรียนสนุกสนานและอบอุ่นค่ะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเนื้อหาที่กระชับเข้าใจง่าย ทำให้นักศึกษาเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็ว นำเทคนิคการดูแลและพัฒนาเด็กมาถ่ายทอดให้นักศึกษาฟัง มีการยกตัวอย่างและนำสื่อต่างๆมาเพิ่มเติมความรู้ทำให้เห็นภาพและอาการของเด็กได้ชัดเจน อาจารย์ดูแลเอาใจใส่และเป็นกันเองกับนักศึกษาทำให้นักศึกษามีความสุข ความสบายใจในการเรียนการสอน อาจารย์จะย้ำอยู่เสมอว่า "การพัฒนาเด็กพิเศษเราต้องอาศัยเวลา ค่อยๆเป็นค่อยๆไปใจเย็นๆ ซ้ำ ย้ำ ทวน สักวันเด็กจะทำได้เอง " ขอบคุณประโยคนี้ที่ทำให้นักศึกษาตระหนักความป็นครูและเข้าใจกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคนนะคะ



วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


วันอังคาร ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กิจกรรม  ครูปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ณ ตึกคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ภาพชุดการแสดง


รำอวยพร (ระบำดอกบัว )


การแสดงนาฏศิลป์ประยุกต์


การแสดงละครสร้างสรรค์ เรื่องผ้าเช็ดหน้าวิเศษ

ความรู้ที่ได้รับ

   ก่อนอื่นต้องขอบคุณประสบการณ์เดิมที่เคยสะสมมาตลอดทั้งชีวิตที่สามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพราะการจัดกิจกรรมนี้เกือบ 100 % ที่นักศึกษาทุกคนต้องดำเนินการเองทั้งหมด และต้องขอบคุณอาจารย์รายวิชาอื่นๆที่มาให้คำแนะและเทคนิควิธีในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ส่วนด้านความรู้ที่ได้รับ คือ การปรับตัวให้กับบุคคลต่างๆที่มีความแตกต่างกัน การแบ่งเวลาการเรียน การทำกิจกรรมให้มีผล
กระทบน้อยที่สุด การทำงานร่วมกับเพื่อน ความสามัคคี และสุดท้ายคือความสุข เพราะกลุ่มดิฉันได้รับมอบหมายงาน การแสดงละครสร้างสรรค์ จากการทำงานของกลุ่มเราทั้งหมด 20 คน แบ่งนักแสดง 11 คน และฝ่ายอุปกรณ์ 9 คน ต่างคนก็ต่างทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด จนผลงานออกมาเป็นที่ประทับใจของผู้ชม ดิฉันต้องขอชื่นชมเพื่อนทั้งหมดที่อดทน ดิ้นรน สู้ กับปัญหาที่หนักพอสมควร ถือว่ากิจกรรมในครั้งนี้ป็นบทเรียนของหนังสือเล่มหัวใจที่ดีเลยค่ะ 


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การปรับตัวและการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  2. การแบ่งวลาเรียนให้ดี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในด้านอื่น
  3. การทำงานร่วนกับเพื่อน เพื่อความสามัคคีและผลงานออกมาอย่างมีคุณภาพ
  4. การนำกิจกรรมต่างๆมาเป็นตนแบบในการจัดกิจกรรมให้เด็ก
  5. ความอดทนต่อปัญหาต่างๆ เพื่อความสำเร็จในวันข้างหน้า
ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : ตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม แต่มีบางการแสดงที่ไม่ได้ชม เพราะต้องเตรียมตัวเพื่อการแสดงละครสร้างสรรค์ 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม ทุกฝ่ายต่างแบ่งหน้าที่กันทำอย่างมุ่งมั่น และเห็นได้ถึงความตั้งใจทำงาน ความสามัคคีในการอยู่ร่วมกันและการทำงานร่วมกัน

ประเมินอาจารย์ : ขอบคุณอาจารย์ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปทำหน้าที่ให้เสร็จด้วยความสบายใจ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้คำแนะนำต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และบอกถึงวิธีการดำเนินชีวิต การยอมรับฟังความคิดเห็น ยอมรับคำสั่่ง ถึงแม้จะขัดต่อความรู้สึกเราก็ตาม แต่ทุกอย่างคือหน้าที่ เพราะฉะนั้นแล้วเราควรทำให้ดีที่สุด เพื่อความราบรื่นในการจัดกิจกรรม และถือว่าประสบการณ์ในครั้งนี้เป็นบทเรียนที่ดี บอกได้เลยว่าอาจารย์เป็นที่รักของนักศึกษาทุกคน ที่คอยห่วงใย เอาใจใส่ เข้าใจความรู้สึกของนักศึกษา และหนูจะจำคำสอนของอาจารย์ ที่กล่าวว่า "อะไรที่เราไม่ชอบเราก็อย่านำไปใช้กับลูกศิษย์ของเรา" นำไปใช้ในการดำนินชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตค่ะ



วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


วันอังคาร ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เนื้อหาการเรียน : การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  1. Dow's Syndrome
  2. Autistic

แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ อาการ Dow's Syndrome
  1. ด้านสุขภาพอนามัย การแนะนำให้ผู้ปกครองพาบุตรไปพบแพทย์ การติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
  2. การส่งเสริมพัฒนาการ การใช้วิธีการสอนซ้ำ ย้ำ ทวน กับเด็ก และการฟื้นฟูต้องใช้เวลา
  3. การดำรงชีวิตประจำวัน ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
  4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ การฟื้นฟูทางการแพทย์ การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล : IEP
  5. การปฏิบัติของบิดามารดา การยอมรับความจริง การพาเด็กเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพด้านต่างๆเช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม การทำหมัน และการตรวจโรคหัวใจ
แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ อาการ Autistic
  1. ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว ครอบครัวมีหน้าที่สำคัญที่สุดในการดูแลช่วยเหลือ ไม่ใช่หน้าที่คนใดคนหนึ่ง 
  2. ส่งเสริมความสามารถเด็ก เสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ที่หลากหลาย มุ่งส่งสริมความสามารถควบคู่ไปด้วย
  3. พฤติกรรมบำบัด หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา สร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ
  4. การส่งเสริมพัฒนาการ ยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ
  5. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การแก้ไปการพูด การสื่อความหมายทดแทน กิจกรรมบำบัด
  6. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
  7. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม การฝึกฝนทักทะในชีวิตประจำวัน การฝึกฝนทักษะทางสังคม การสอนเรื่องราวทางสังคม
  8. การรักษาด้วยยา เพื่อบรรเทาอาการบางอย่างที่เกิดร่วมด้วย เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ
  9. การบำบัดทางลือก การสื่อความหมายทดแทน ศิลปกรรมบำบัด ดนตรีบำบัด การฝังเข็ม การบำบัดด้วยสัตว์
ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและฟังเนื้อหาการเรียนการสอน พร้อมการจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมที่อาจารย์สอน แต่ตรั้งต่อไปต้องปรับเปลี่ยนแถวนั่งเพราะอยู่ข้างหลังทำให้การเรียนมีอุปสรรคเช่น การมองเห็นท่าทางต่างๆ
ประเมินเพื่อน : ทุกคนมีระเบียบวินัยในห้องเรียน ตั้งใจเรียน บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน เพราะ มีการโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบกระชับเนื้อหา ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น และมีการเล่นบทบาทสมมติ การยกตัวอย่างอาการต่างๆ การแนะนำเทคนิควิธีเมื่อเราไปเป็นครูจริง และที่สำคัญการเรียนการสอนของอาจารย์ยึดเด็กป็นศูนย์กลาง เข้าใจความต้องการของเด็ก จึงทำให้การเรียนมีแต่ความสุขและราบรื่นไปด้วยดี

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


วันอังคาร ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


เนื้อหาการเรียน : เฉลยข้อสอบกลางภาค 
ความรู้ที่ได้รับ
   การเฉลยข้อสอบกลางภาค ทำให้รู้ว่าเรามีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาการเรียนการสอนมากน้อยพียงใด ซึ่งดิฉันมีความภูมิใจเป็นอย่างมากกับผลคะแนนที่ออกมา ทำให้เรารู้ว่ามีความเข้าใจเนื้อหาในการเรียนในระดับที่ดี ส่วนข้อที่เราทำผิด เราก็จะได้รับรู้ถึงคำตอบที่ถูกต้องเพื่อที่นำมาปรับปรุงและแก้ไขในการสอบครั้งต่อไป และยังเห็นได้อีกว่า การสอนการสอนของอาจารย์มีคุณภาพและประสบผลสำเร็จ เพราะการที่อาจารย์ใช้เทคนิคที่หลากหลาย เช่น VDO การเล่าสู่กันฟัง การเล่นบทบาทสมมติ บรรยากาศในห้องเรียนมีความสุขและความสนุก และเนื้อการเรียนมีความกระชับและเข้าใจง่าย

ความรู้จากกิจกรรมเล่าสู่กันฟัง
  ดิฉันได้ผลคะแนนสอบกลางภายในระดับที่ดี ส่วนสำคัญมาจากกิจกรรมเล่าสู่กันฟัง เพราะขณะที่อาจารย์เล่าดิฉันก็จะคิดภาพและจินตนาการตามเนื้อเรื่อง จึงทำให้การเข้าใจเนื้อหาอย่างมีระบบ และมีขั้นตอนในการจำเนื้อหาของแต่ละหัวข้อ 

ความรู้จากบทบาทสมมติ
   บทบาทสมมติทำให้ดิฉันได้รับความรู้จากนามธรรมเป็นรูปธรรม จากที่อาจารย์ได้เล่นบทบาทสมมติให้ดูส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี ได้เห็นภาพอาการของเด็กชัดเจน และยังทำให้บรรกาศในห้องเรียนสนุกสนานมากขึ้น

ข้อควรจำ
2. เด็กปฐมวัยที่ความต้องการพิเศษ (Early childhood with Specail Needs)
10. ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ ที่มีมาแต่กำเนิด ส่งผลให้เด็กสติปัญญาต่ำอย่างถาวร
44. เด็ก L.D. มีสติปัญญาปกติ 
58. กิจกรรมที่ไม่ใช่ กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น Eye - Hand Coordination.

ประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง : จากผลคะแนนที่ออกมาทำให้เรามีความภาคภูมิใจ มีแรงผลักดันในการเรียนเพิ่มมากขึ้น และในวันนี้ดิฉันมีความตั้งใจในการเฉลยข้อสอบ เพราะจะทำให้เรารู้ถึงจุดที่เราควรปรับปรุงและพัฒนาตนเอง

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตื่นเต้นและพึงพอใจกับคะแนนสอบ ทุกคนให้ความร่วมมือและตั้งใจเรียนในวันนี้ และจะเห็นได้ว่า การเรียนวันนี้มีความสุข มีความเข้าใจเนื้อหาการเรียนที่อยู่ในระดับที่ดีกันทุกคน

ประเมินอาจารย์ : การสอบกลางภาคทำให้เราเห็นว่า การเรียนการสอนของอาจารย์ประสบผลสำเร็จอย่างพึงพอใจ การสอนของอาจารย์มีสิ่งเร้าที่หลากหลาย มีการขยายเพิ่มเติมความรู้หลายทาง ทำให้ดิฉันรู้ว่าการเรียนทฤษฎีและการเรียนภาคปฏิบัติหรือการยกตัวอย่าง จะทำให้เกิดการเรียนที่เพิ่มขึ้นและมีประสิทธิภาพ ขอบคุณอาจารย์ที่คอยนำเสนอสิ่งดีๆมาใช้ในการเรียนการสอน 

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


วันอังคาร ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557


สรุปเนื้อหาเป็น Mind Map ได้ดังนี้


การให้ความช่วยเหลือด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  1. การให้การเสริมแรงเป็นการให้สิ่งที่เด็กชอบ
  2. การหยุดยั้ง เป็นการเมินเฉย ไม่ให้ความสนใจต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
  3. การเป็นแบบอย่างที่ดี
  4. การกำหนดกฏเกณฑ์
  5. การลงโทษ 
การประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตรงต่อเวลา มีวินัยในชั้นเรียน ให้ความร่วมมือกับเนื้อหาการเรียนการสอน และตั้งใจเรียนกับสื่อต่างๆที่นำมาจัดการสอน
  • ประเมินพื่อน : เพื่อนมีวินัยในชั้นเรียน สนใจกับเนื้อหาการเรียน มีการสนทนาโต้ตอบ จึงทำให้การเรียนราบรื่น
  • ประเมินอาจารย์ : การใช้เทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาสนใจการเรียน เนื้อหาไม่เยอะจนไปและมีการนำ สื่อหลากหลายช่องทางมาจัดการสอน และชอบกับกิจกรรมเล่าสู่กันฟังมากค่ะ

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


วันอังคาร ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557


เนื้อการเรียนการสอน : 
1.เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability) 
2.เด็กออทิสติก (Autistic)

สรุปความรู้เป็น Mind Mapping ได้ดังนี้


การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
     เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจมีปัญหาหลายๆด้านเฉพาะบางด้านในระดับความรุนแรงของปัญหาแตกต่างกันไป การช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ต้องอาศัยการวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบสาเหตุของปัญหา การช่วยเหลือมักต้องทำเป็นรายบุคคล เช่น การสอนให้เด็กเข้าใจถึงพัฒนาการการรับรู้และการเคลื่อนไหวร่างกาย การเล่นเป็นจังหวะ การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฝึกการใช้ประสาทสัมผัส การฟัง การเห็น การสัมผัส และการใช้ภาษาในการสื่อสาร

แนวทางการดูแลเด็กออทิสติก
  1. นำเด็กออกจากโลกของตัวเองสู่สังคมในบ้าน
  2. สอนให้เด็กรู้จักตนเองและบุคคลในครอบครัว
  3. การหันตามเสียงเรียก เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักชื่อของตนเอง
  4. การจับมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
  5. การฝึกกิจวัตรประจำวัน
  6. การเล่น ฝึกให้เด็กรู้จักเล่นของเล่น
  7. ฝึกการสื่อสารด้วยการใช้ท่าทาง
  8. การรับรู้การแสดงออกด้วยสีหน้า
  9. การใช้ยา 
ประเมินการเรียนการสอน
  • ประเมินตนเอง : แต่งกายสุขภาพเรียบร้อย ตรงต่อเวลา สนใจกับเนื้อหาการเรียนการสอน และมีส่วนร่วมกับการสอนของอาจารย์
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือกับการสอน ทุกคนตั้งใจกับเนื้อหาที่เรียน มีสมาธิกับการเรียน และสนุกสนานกับบทบาทสมมติ
  • ประเมินอาจารย์ : ประทับใจกับเทคนิคการสอนของอาจารย์ เพราะทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย มีการแสดงบทบาทสมมติให้เห็นถึงอาการของเด็กที่มีความบกพร่อง ทำให้นักศึกษาได้ทั้งความรู้และความสุขในการเรียน สิ่งที่ประทับอีกอย่างคือ การเล่าสู่กันฟัง อย่างวันนี้เล่าเรื่องน้องมิ้ม ทำให้ดิฉันซึ้งและมีเจตคติที่ดีในการดูแลเด็กจากใจและให้ความผูกพันธ์กับเด็ก "รักษาด้วยยาไม่เท่าการรักษาด้วยใจ"